งานเสวนาเรื่อง
“Thai Sustainable Development perspective on Food Loss and Waste”
วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2560 เวลา 8.00 – 15.30 น.
ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ระยะเวลา 2560 – 2564 ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้วางเป้าหมายและตัวชี้วัดในด้านต่างๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่ องค์การสหประชาชาติ(United Nations: UN) ได้กำหนดขึ้น ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาโดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน และ UN ได้ประกาศ SDGs ในปี 2558 มีระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2573 ซึ่ง SDGs ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ทั้งนี้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดให้ประเทศมีความมั่นคงทางอาหาร และส่วนหนึ่งของการที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้จะต้องมีแผนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (SDG 12: Sustainable Consumption and Production) โดยที่ในปี 2559 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารลำดับที่ 13* ของโลกพร้อมกับได้ตั้งเป้าหมายขึ้นเป็นลำดับที่ 5 ภายในระยะเวลา 20 ปี ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบปริมาณการสูญเสียตลอดสายโซ่การผลิตและการบริโภคอาหาร (food loss and waste) เพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริโภคอาหารของประเทศ และจะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน
Food loss และ Food waste** ตามคำจำกัดความขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) โดยกล่าวไว้ว่า Food loss เป็นการสูญเสียในขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว และขั้นตอนการแปรรูป เช่น การสูญเสียขณะใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว การสูญเสียขณะขนส่ง หรือการสูญเสียในกระบวนการปอกเปลือก การหั่น และการต้มไม่ถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพื่อการบริโภค และ ส่วน Food waste คือผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคที่ถูกทิ้งไว้ให้เสียหมดอายุ ทิ้งเนื่องจากบริโภคไม่หมด หรือแม้กระทั่งการเข้าใจผิดว่าไม่สามารถบริโภคได้ เช่น เปลือกของผักและผลไม้เปลี่ยนสีท าให้ผู้บริโภคไม่เลือกซื้อและร้านขายปลีกทำลายทิ้ง เป็นต้น ซึ่งขั้นนี้เกิดขึ้นในระดับร้านขายปลีก ร้านอาหารและครัวเรือน ดังจะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาจะต้องใช้องค์ความรู้ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต การขนส่ง และการแปรรูป อีกทั้งต้องสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนให้เข้าใจคุณลักษณะของอาหารที่สามารถบริโภคได้และไม่ให้เกิดการบริโภคอย่างทิ้งขว้างหรือเกินพอดี
มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของ Food loss และ Food waste ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากการสูญเสียตลอดสายโซ่การผลิตอาหาร ตลอดจนการสูญเสียในระดับผู้บริโภคส่งผลโดยตรงต่อประชาชนคนไทยที่ยังขาดแคลนอาหารในการบริโภค และยังเกิดการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “Thai SDG perspective on Food Loss and Waste” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และเป็นเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ สาเหตุ ปัจจัยการเกิด และวิธีป้องกันการเกิด Food loss และ Food waste นี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่สอดคล้องกับ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของประเทศไทย และของโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 ด้วย
* ข้อมูลจากสถาบันอาหาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559
** http://www.fao.org/food-loss-and-food-waste/en/
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา
Poster
กำหนดการ
หลักการและเหตุผล
เอกสารประกอบการบรรยาย
ช่วงเช้า
Janet Salem -“Deliciously Sustainable – UN Environment’s holistic approach to sustainable food systems and food waste prevention”
รศ. ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร -“การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทเศรษฐกิจและสังคมไทย”
ศ. ดร. วิสิฐ จะวะสิต -“การพัฒนาที่ยั่งยืนของการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตและบริโภคอาหาร”
นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ – “การจัดการด้านสาธารณสุขกับการสูญเสียในด้านการบริโภค”
Gopi Krishnan – “The OzHarvest Food Rescue Model; ThaiHarvestSOS and the Swissotel Food Waste Reduction activity and meals today”
Food Loss
คุณหิรัญญา สระสม – “การดำเนินงานด้าน Food Loss ของไทย”
ดร. จิตติ มังคละศิริ – “ความก้าวหน้าของงานวิจัย SDG ตัวชี้วัด 12.3.1 Food Loss and Waste ของไทย”
ดร. อัญชัญ ชมพูพวง-”บทเรียนการลดการสูญเสียในการผลิตอาหารจากเกษตรชุมชน”
คุณไพบูลย์ พลสุวรรณา – “การลดการสูญเสียผลผลิตของอาหารทะเลด้วย logistic”
Food Waste
รศ. ดร. วาณี ชนเห็นชอบ – “การยืดอายุการเก็บอาหารด้วยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์”
รศ. ดร. วราภรณ์ บุญทรัพย์ทิพย์ – “เลือกซื้อเลือกทานอาหารอย่างไร ไม่ให้เสียคุณค่าทางอาหาร”
คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร – “การบริหารจัดการเพื่อการลดการสูญเสียอาหารในร้านค้า”
คุณชีวิน คเชนทร์เดชา – “กรณีศึกษาการลด Food waste จากห้องอาหารในธุรกิจโรงแรม”
บรรยากาศในงานเสวนา