home Seminars งานเสวนาเรื่อง Thai Sustainable Development perspective on Food Loss and Waste

งานเสวนาเรื่อง Thai Sustainable Development perspective on Food Loss and Waste

งานเสวนาเรื่อง
“Thai Sustainable Development perspective on Food Loss and Waste”

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2560 เวลา 8.00 – 15.30 น.
ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ระยะเวลา 2560 – 2564 ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้วางเป้าหมายและตัวชี้วัดในด้านต่างๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่ องค์การสหประชาชาติ(United Nations: UN) ได้กำหนดขึ้น ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาโดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน และ UN ได้ประกาศ SDGs ในปี 2558 มีระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2573 ซึ่ง SDGs ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ทั้งนี้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดให้ประเทศมีความมั่นคงทางอาหาร และส่วนหนึ่งของการที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้จะต้องมีแผนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (SDG 12: Sustainable Consumption and Production) โดยที่ในปี 2559 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารลำดับที่ 13* ของโลกพร้อมกับได้ตั้งเป้าหมายขึ้นเป็นลำดับที่ 5 ภายในระยะเวลา 20 ปี ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบปริมาณการสูญเสียตลอดสายโซ่การผลิตและการบริโภคอาหาร (food loss and waste) เพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริโภคอาหารของประเทศ และจะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

Food loss และ Food waste** ตามคำจำกัดความขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) โดยกล่าวไว้ว่า Food loss เป็นการสูญเสียในขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว และขั้นตอนการแปรรูป เช่น การสูญเสียขณะใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว การสูญเสียขณะขนส่ง หรือการสูญเสียในกระบวนการปอกเปลือก การหั่น และการต้มไม่ถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพื่อการบริโภค และ ส่วน Food waste คือผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคที่ถูกทิ้งไว้ให้เสียหมดอายุ ทิ้งเนื่องจากบริโภคไม่หมด หรือแม้กระทั่งการเข้าใจผิดว่าไม่สามารถบริโภคได้ เช่น เปลือกของผักและผลไม้เปลี่ยนสีท าให้ผู้บริโภคไม่เลือกซื้อและร้านขายปลีกทำลายทิ้ง เป็นต้น ซึ่งขั้นนี้เกิดขึ้นในระดับร้านขายปลีก ร้านอาหารและครัวเรือน ดังจะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาจะต้องใช้องค์ความรู้ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต การขนส่ง และการแปรรูป อีกทั้งต้องสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนให้เข้าใจคุณลักษณะของอาหารที่สามารถบริโภคได้และไม่ให้เกิดการบริโภคอย่างทิ้งขว้างหรือเกินพอดี

มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของ Food loss และ Food waste ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากการสูญเสียตลอดสายโซ่การผลิตอาหาร ตลอดจนการสูญเสียในระดับผู้บริโภคส่งผลโดยตรงต่อประชาชนคนไทยที่ยังขาดแคลนอาหารในการบริโภค และยังเกิดการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “Thai SDG perspective on Food Loss and Waste” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และเป็นเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ สาเหตุ ปัจจัยการเกิด และวิธีป้องกันการเกิด Food loss และ Food waste นี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่สอดคล้องกับ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของประเทศไทย และของโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 ด้วย

* ข้อมูลจากสถาบันอาหาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559

** http://www.fao.org/food-loss-and-food-waste/en/

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา
Poster
กำหนดการ
หลักการและเหตุผล

เอกสารประกอบการบรรยาย
ช่วงเช้า
Janet Salem -“Deliciously Sustainable – UN Environment’s holistic approach to sustainable food systems and food waste prevention”
รศ. ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร -“การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทเศรษฐกิจและสังคมไทย”

ศ. ดร. วิสิฐ จะวะสิต -“การพัฒนาที่ยั่งยืนของการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตและบริโภคอาหาร”
นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ – “การจัดการด้านสาธารณสุขกับการสูญเสียในด้านการบริโภค”
Gopi Krishnan – “The OzHarvest Food Rescue Model; ThaiHarvestSOS and the Swissotel Food Waste Reduction activity and meals today”

Food Loss
คุณหิรัญญา สระสม – “การดำเนินงานด้าน Food Loss ของไทย”
ดร. จิตติ มังคละศิริ – “ความก้าวหน้าของงานวิจัย SDG ตัวชี้วัด 12.3.1 Food Loss and Waste ของไทย”
ดร. อัญชัญ ชมพูพวง-”บทเรียนการลดการสูญเสียในการผลิตอาหารจากเกษตรชุมชน”
คุณไพบูลย์ พลสุวรรณา – “การลดการสูญเสียผลผลิตของอาหารทะเลด้วย logistic”


Food Waste
รศ. ดร. วาณี ชนเห็นชอบ – “การยืดอายุการเก็บอาหารด้วยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์”
รศ. ดร. วราภรณ์ บุญทรัพย์ทิพย์ – “เลือกซื้อเลือกทานอาหารอย่างไร ไม่ให้เสียคุณค่าทางอาหาร”
คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร – “การบริหารจัดการเพื่อการลดการสูญเสียอาหารในร้านค้า”
คุณชีวิน คเชนทร์เดชา – “กรณีศึกษาการลด Food waste จากห้องอาหารในธุรกิจโรงแรม”

บรรยากาศในงานเสวนา