งานเสวนาเรื่อง Aging well in Thailand 4.0
ในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 เวลา 8.30 – 12.30 น.
ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ห้อง ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
จากข้อมูลของสหประชาชาติปัจจุบันประชากรโลกผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มากถึง 1 ใน 8 ของประชากรหรือเทียบเท่าร้อยละ 13 อีกทั้งยังเกิดปรากฎการณ์ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นคือ ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2010 – 2015) ประชากรโลกมีอายุเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.7 ปี ทำให้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 70.8 ปี และเมื่อพิจารณาสถิติประชากรของประเทศไทยพบว่ามีกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปอยู่ถึงร้อยละ 17 และในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมามีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.4 ปี ทำให้มีอายุเฉลี่ยที่ 74.6 ปี ทั้งนี้มีการคาดการณ์อายุเฉลี่ยของประชากรไทยในปี 2030 จะอยู่ที่ 77.5 ปี ประกอบกับประเทศไทยมีอัตราการเกิดทดแทนต่ำกว่าร้อยละ 46 ทำให้คาดว่าในปี 2050 ไทยจะมีประชากรลดลงจากปัจจุบันที่มีจำนวน 69.03 ล้านคน เป็น 65.37 ล้านคน* โดยร้อยละ 37.1 เป็นผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป** จากการคาดการณ์จำนวนประชากรผู้สูงอายุของไทยดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดการและเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นนี้
ทั้งนี้การส่งเสริมให้ผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ผู้สูงอายุหรือเป็นผู้สูงอายุแล้วสามารถจัดการหรือเตรียมตัวรับมือเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่นการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินให้กับตัวเอง ดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกต้อง หรือการเตรียมที่อยู่อาศัยของตัวเองให้พร้อมกับสภาพร่างกายที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยภาครัฐบาลและสังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการและเตรียมตัวพร้อมรับนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถหารายได้เข้าตัวเองได้ เปิดช่องทางให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนเองที่สะสมมาให้มีประโยชน์ต่อสังคม มีการรองรับทางการแพทย์ที่เพียงพอ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพให้แข็งแรงหรือมีการสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะที่คำนึงถึงการใช้งานของผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชนเพื่อสามารถเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการและพร้อมรับผู้สูงอายุที่จะมีมากขึ้น จึงได้มีการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “Aging well in Thailand 4.0” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อสาธารณชน ในประเด็นด้านการจัดการและพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุในเรื่องต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุมีที่ความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต
* United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division (2017). World Population Prospects The 2017 Revision.
** United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division (2015). World Population Ageing 2015
เอกสารประกอบ
1. หลักการเหตุผลและกำหนดการ
2. Poster
เอกสารประกอบการบรรยาย
เรื่อง “ภาพรวมและสถานภาพสังคมผู้สูงอายุของประเทศ”-ศ.ดร. ปราโมทย์ ประสาทกุล
เรื่อง “การรองรับทางการแพทย์ในสังคมผู้สูงอายุ”-ศ.นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา
เรื่อง “การเตรียมสภาพแวดล้อมเพื่อผู้สูงอายุ ผู้พิการและเด็ก”-ดร. ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
เรื่อง “การเตรียมสภาพแวดล้อมเพื่อผู้ป่วยสมองเสื่อม”-ดร. ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
บรรยากาศในงานเสวนา
การเดินทาง
แผนที่โรงแรม