งานเสวนา บวท. เรื่อง “genome editing technology ไทยพร้อมใช้หรือยัง?”

มนุษย์กับการปรับปรุงพันธุ์พืช/สัตว์ อาจเริ่มมาพร้อมๆ กับการที่มนุษย์ทำการเกษตรกรรม เช่นการเก็บพันธุ์ที่มีลักษณะที่ต้องการไว้สำหรับปลูกรอบถัดไป หรือการนำพันธุ์ที่ต้องการมาผสมกันเพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ เช่น สี ขนาด และ/หรือการต้านทานโรค เกิดลูกผสมเป็นพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์โดยการผสมข้ามพันธุ์นั้น ใช้เวลานานและอาจจะไม่ได้ลักษณะตามที่ต้องการ และเมื่อช่วงทศวรรษที่ 70 – 80 ที่ผ่านมาเริ่มใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมทำให้การปรับปรุงพันธุ์เร็วขึ้น แต่เครื่องมือที่ใช้ในการดัดแปลงพันธุกรรมในยุคนั้น ยังมีความแม่นยำในตำแหน่งที่จะทำการปรับเปลี่ยนน้อย และคงทิ้งชิ้นส่วนสารพันธุกรรมที่ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์อยู่ในพันธุ์ใหม่ที่ถูกปรับปรุงขึ้น ต่อมามีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการตัดต่อ DNA สายคู่ให้มีความแม่นยำมากขึ้น เช่น nonhomologous end joining (NHEJ), Insertion–deletion mutations (indels), zinc-finger nucleases (ZFNs), transcription activator-like effector nucleases (TALENs) และเมื่อปี พ.ศ. 2555 มีการค้นพบ CRISPR-Cas9 โดย Jennifer Doudna และ Emmanuelle Charpentier ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความจำเพาะและแม่นยำต่อตำแหน่ง DNA ที่ถูกออกแบบให้ตัดและสามารถต่อชิ้นส่วน DNA ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากใน …

การประชุมสัมมนา “The Future of Transportation Systems”

ในปัจจุบัน ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้รถยนต์ที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) ที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนายานพาหนะที่ใช้พลังงานที่ไม่ได้มาจากฟอสซิล คือ ปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดน้อยลงไปทุกวัน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนายานพาหนะที่หลากหลาย และการใช้พลังงานขับเคลื่อนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นสิ่งที่น่าทำความเข้าใจและจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสังคมและเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) และศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันจัดการประชุมสัมมนา “Future Transportation System” เพื่อให้ทราบถึงระดับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานและยานพาหนะที่ใช้ในระบบการเดินทางและขนส่งในปัจจุบันและแนวโน้มเทคโนโลยีทางด้านนี้ในอนาคตอีกทั้งนโยบายการสนับสนุนระบบการขนส่งของภาครัฐ สำหรับบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน และประชาชนทั่วไปเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีของการผลิตลังงาน การพัฒนายานพาหนะ และระบบการขนส่งของประเทศ ท่านสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://forms.gle/xQa2KCLqo6bTw14C8 ภาพงานสัมมนา

งานเสวนา บวท. เรื่อง “มองหลากมุม จริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานวิจัย”

หลักการและเหตุผล จากเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับจริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งทางออนไลน์และสื่อมวลกระแสหลัก ทำให้เกิดความเป็นห่วงและกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในสังคมถึงประเด็นจริยธรรมของผู้ทำงานวิจัยในการเผยแพร่ผลงาน สร้างความสงสัยและความไม่ไว้วางใจกับการดำเนินการวิจัยทั้งกระบวนการ  ซึ่งจากมุมมองของประชาคมวิจัยมีคำถามที่เชื่อมโยงถึงจริยธรรมที่พึงมีของผู้วิจัย แรงกดดันจากระบบการวัดผล/การจัดลำดับหน่วยงานที่อาจนำไปสู่การเร่งผลิตผลงาน แรงจูงใจในการสร้างผลงานที่มาทั้งจากผู้วิจัยและปัจจัยภายนอก และความพร้อมของของหน่วยงานการศึกษาและวิจัยในการเฝ้าระวังประเด็นใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นเหล่านี้ จึงจัดให้มีงานเสวนา บวท. เรื่อง “มองหลากมุม จริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานวิจัย” วันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น. ทาง zoom meeting เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องจริยธรรมการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานจากนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งจากกรรมการจริยธรรมการเผยแพร่งานวิชาการและวิจัย นักวิจัยผู้มีประสบการณ์ตีพิมพ์มามาก และนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เริ่มดำเนินงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวคิดในการพัฒนากระบวนการที่ดี ต่อประชาคมผู้วิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นการเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นที่สนใจในวงกว้างต่อประชาชนทั่วไป ท่านสามารถชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=hklKmW91TQw ท่านสามารถส่งข้อมูลเพื่อรับข่าวงานเสวนา บวท. ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfjp42Gq8lISGURYOj-UBHR6lGIGhu3GEGzPaOs8AQZqr6iOw/viewform?vc=0&c=0&w=1&flr=0

งานเสวนา บวท. เรื่อง “เทคโนโลยีควอนตัม – เข้าใจได้ ใกล้ตัวกว่าที่คิด”

ความรู้ทางควอนตัมที่ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้เราเข้าใจองค์ประกอบและสภาวะทางธรรมชาติของวัตถุ เช่น อะตอม โมเลกุล ตัวนำ ฉนวน และสารกึ่งตัวนำ ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวเป็นฐานที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่เราใช้งานอยู่ตอนนี้ ตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งคือ ความรู้เกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำทำให้สร้างทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นหนึ่งในนั้น เรียกเทคโนโลยีกลุ่มนี้ว่าเทคโนโลยีควอนตัมยุคแรก หรือเทคโนโลยีควอนตัม 1.0 ช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ความรู้ทางฟิสิกส์และกระบวนการทางวิศวกรรมได้ก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถศึกษาและควบคุมระบบของอนุภาคได้ดีขึ้น จนทำให้อนุภาคเข้าสู่สภาวะที่มีคุณลักษณะพิเศษที่ไม่ปรากฏในสภาวะทั่วไป สามารถนำอนุภาคที่อยู่ในสภาวะนั้นมาสร้างเป็นเทคโนโลยีควอนตัมยุคที่สอง หรือเทคโนโลยีควอนตัม 2.0 ได้ เทคโนโลยีควอนตัมยุคใหม่นี้มีใช้แล้วอย่างแพร่หลาย เราเองก็ได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัวไปแล้ว เช่น การนำทางด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล (GNSS) และการสื่อสารในระบบ 5G เป็นต้น เมื่อเทคโนโลยีควอนตัมเข้ามาอยู่รอบตัวเราเช่นนี้แล้ว เราน่าจะทำความรู้จักกับเทคโนโลยีควอนตัม ทั้งศักยภาพในการใช้ประโยชน์ และข้อจำกัด รวมทั้งทำความเข้าใจว่าประเทศไทยจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในด้านนี้ได้อย่างไร และจะส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในวันที่เทคโนโลยีนี้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักของโลก เพื่อให้สาธารณชนได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีควอนตัม การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีควอนตัม ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคคล/สังคม และการคาดการณ์ต่อสถาณการณ์โลกที่จะกระทบต่อประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยช์ทั้งในชีวิตประจำวันและการสร้างความเข้มแข็งในเชิงธุรกิจด้วยเทคโนโลยีใหม่ บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้จัดให้มีงานเสวนาเรื่อง “เทคโนโลยีควอนตัม – เข้าใจได้ ใกล้ตัวกว่าที่คิด” ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 …

งานประชุมวิชาการเรื่อง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Science Technology and Innovation for Sustainable Consumption and Production or STI for SCP)

การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 15 หัวข้อ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Science Technology and Innovation for Sustainable Consumption and Production or STI for SCP) วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2562 เวลา 9.00-16.00 น. ห้อง CC404 อาคาร Convention Center อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย บทคัดย่อ           เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ปี ค.ศ.2016-2030 เป็นเป้าหมายการพัฒนาต่อเนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ปี ค.ศ.2000-2015 ซึ่งขยายกรอบให้ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญที่ MDGs ไม่ได้กล่าวถึง อาทิ …

การจัดงานประชุม International Symposium on Frontier of Science, Technology and Engineering 2018 (FOSTE 2018)

International Symposium on Frontier of Science, Technology and Engineering 2018 (FOSTE 2018) 19th – 22nd November 2018 Northern Science Park, Chiang Mai, Thailand      The International Symposium on Frontier of Science, Technology and Engineering (FOSTE) brings together, through 2½ day meetings, a selected group of emerging science, technology and engineering leaders from the industries, academia …

งานเสวนาเรื่อง 150th Anniversary King of Siam’s Eclipse

งานเสวนาเรื่อง 150th Anniversary King of Siam’s Eclipse ในวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2561 เวลา 8.00 – 13.00 น. ณ ห้องจามจุรี บอลรูมบี ชั้นเอ็ม โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร หลักการและเหตุผล เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปี การเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ณ บ้านหว้ากอ ต. คลองวาฬ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงคำนวณการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาไว้ล่วงหน้าก่อนสองปี และได้เสด็จไปทอดพระเนตรการเกิดปรากฎการณ์ด้วยพระองค์เองพร้อมกับคณะผู้ร่วมสังเกตการณ์จากประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และสิงคโปร์ ซึ่งในครั้งนั้นได้เกิดสุริยุปราคาตามการคำนวณของพระองค์อย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้ร่วมสังเกตการณ์ โดยดวงอาทิตย์ได้ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงอยู่นานถึง 6 นาที 46 วินาที ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่สยามและแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน และสืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน …

The 15th Asia Pacific Conference on Giftedness (APCG2018) “Inspiration, Motivation, and Creativity: Leading the Way to Giftedness”

The 15th Asia Pacific Conference on Giftedness (APCG2018) “Inspiration, Motivation, and Creativity: Leading the Way to Giftedness” 20th – 24th August 2018 Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok, Thailand The National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Ministry of Science and Technology, Thailand, would like to extend our warm welcome to invite you to participate …

งานเสวนาเรื่อง Aging well in Thailand 4.0

งานเสวนาเรื่อง Aging well in Thailand 4.0 ในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 เวลา 8.30 – 12.30 น. ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ห้อง ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร จากข้อมูลของสหประชาชาติปัจจุบันประชากรโลกผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มากถึง 1 ใน 8 ของประชากรหรือเทียบเท่าร้อยละ 13 อีกทั้งยังเกิดปรากฎการณ์ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นคือ ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2010 – 2015) ประชากรโลกมีอายุเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.7 ปี ทำให้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 70.8 ปี และเมื่อพิจารณาสถิติประชากรของประเทศไทยพบว่ามีกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปอยู่ถึงร้อยละ 17 และในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมามีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.4 ปี ทำให้มีอายุเฉลี่ยที่ …

งานประชุม International Symposium on Frontier of Science, Technology and Engineering 2017: FOSTE 2017

International Symposium on Frontier of Science, Technology and Engineering 2017: FOSTE 2017 20 – 23 November 2017 KMUTT Knowledge Exchange for Innovation Center (KX), Bangkok, Thailand The International Symposium on Frontiers of Science, Technology and Engineering (ISFSTE) brings together through 2-1/2 day meetings a select group of emerging engineering leaders from industry, academe, and government …