งานเสวนา บวท. เรื่อง “มองหลากมุม จริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานวิจัย”

หลักการและเหตุผล จากเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับจริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งทางออนไลน์และสื่อมวลกระแสหลัก ทำให้เกิดความเป็นห่วงและกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในสังคมถึงประเด็นจริยธรรมของผู้ทำงานวิจัยในการเผยแพร่ผลงาน สร้างความสงสัยและความไม่ไว้วางใจกับการดำเนินการวิจัยทั้งกระบวนการ  ซึ่งจากมุมมองของประชาคมวิจัยมีคำถามที่เชื่อมโยงถึงจริยธรรมที่พึงมีของผู้วิจัย แรงกดดันจากระบบการวัดผล/การจัดลำดับหน่วยงานที่อาจนำไปสู่การเร่งผลิตผลงาน แรงจูงใจในการสร้างผลงานที่มาทั้งจากผู้วิจัยและปัจจัยภายนอก และความพร้อมของของหน่วยงานการศึกษาและวิจัยในการเฝ้าระวังประเด็นใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นเหล่านี้ จึงจัดให้มีงานเสวนา บวท. เรื่อง “มองหลากมุม จริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานวิจัย” วันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น. ทาง zoom meeting เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องจริยธรรมการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานจากนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งจากกรรมการจริยธรรมการเผยแพร่งานวิชาการและวิจัย นักวิจัยผู้มีประสบการณ์ตีพิมพ์มามาก และนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เริ่มดำเนินงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวคิดในการพัฒนากระบวนการที่ดี ต่อประชาคมผู้วิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นการเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นที่สนใจในวงกว้างต่อประชาชนทั่วไป ท่านสามารถชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=hklKmW91TQw ท่านสามารถส่งข้อมูลเพื่อรับข่าวงานเสวนา บวท. ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfjp42Gq8lISGURYOj-UBHR6lGIGhu3GEGzPaOs8AQZqr6iOw/viewform?vc=0&c=0&w=1&flr=0

Impact of climate change on food systems – side event at the FAO Science & Innovation Forum on 13 October, 2-4 PM CEST

A recent systems-based approach to tackling climate change and health issues, from the global InterAcademy Partnership and its regional academy networks, examined how science can guide innovation, policy and practice for climate mitigation and adaptation. Among adverse climate change effects are those mediated by multiple impacts on food production and, consequently, on health and livelihoods. …

Grant opportunity from the U.S. National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine

The U.S. National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine is releasing a small grant opportunity to scientists from Southeast Asia who are affiliated with regional and national scientific networks to counter misinformation in biology, medicine, and public health. More information about the small grant opportunity is available on the grant application page. This grant opportunity builds …

ขอแสดงความอาลัย

ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของศาสตราจารย์ นพ. อารี วัลยะเสวี ประธานมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2545

งานเสวนา บวท. เรื่อง “เทคโนโลยีควอนตัม – เข้าใจได้ ใกล้ตัวกว่าที่คิด”

ความรู้ทางควอนตัมที่ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้เราเข้าใจองค์ประกอบและสภาวะทางธรรมชาติของวัตถุ เช่น อะตอม โมเลกุล ตัวนำ ฉนวน และสารกึ่งตัวนำ ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวเป็นฐานที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่เราใช้งานอยู่ตอนนี้ ตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งคือ ความรู้เกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำทำให้สร้างทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นหนึ่งในนั้น เรียกเทคโนโลยีกลุ่มนี้ว่าเทคโนโลยีควอนตัมยุคแรก หรือเทคโนโลยีควอนตัม 1.0 ช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ความรู้ทางฟิสิกส์และกระบวนการทางวิศวกรรมได้ก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถศึกษาและควบคุมระบบของอนุภาคได้ดีขึ้น จนทำให้อนุภาคเข้าสู่สภาวะที่มีคุณลักษณะพิเศษที่ไม่ปรากฏในสภาวะทั่วไป สามารถนำอนุภาคที่อยู่ในสภาวะนั้นมาสร้างเป็นเทคโนโลยีควอนตัมยุคที่สอง หรือเทคโนโลยีควอนตัม 2.0 ได้ เทคโนโลยีควอนตัมยุคใหม่นี้มีใช้แล้วอย่างแพร่หลาย เราเองก็ได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัวไปแล้ว เช่น การนำทางด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล (GNSS) และการสื่อสารในระบบ 5G เป็นต้น เมื่อเทคโนโลยีควอนตัมเข้ามาอยู่รอบตัวเราเช่นนี้แล้ว เราน่าจะทำความรู้จักกับเทคโนโลยีควอนตัม ทั้งศักยภาพในการใช้ประโยชน์ และข้อจำกัด รวมทั้งทำความเข้าใจว่าประเทศไทยจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในด้านนี้ได้อย่างไร และจะส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทยในวันที่เทคโนโลยีนี้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักของโลก เพื่อให้สาธารณชนได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีควอนตัม การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีควอนตัม ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคคล/สังคม และการคาดการณ์ต่อสถาณการณ์โลกที่จะกระทบต่อประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยช์ทั้งในชีวิตประจำวันและการสร้างความเข้มแข็งในเชิงธุรกิจด้วยเทคโนโลยีใหม่ บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้จัดให้มีงานเสวนาเรื่อง “เทคโนโลยีควอนตัม – เข้าใจได้ ใกล้ตัวกว่าที่คิด” ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 …