งานเสวนาเรื่อง 150th Anniversary King of Siam’s Eclipse
ในวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2561 เวลา 8.00 – 13.00 น.
ณ ห้องจามจุรี บอลรูมบี ชั้นเอ็ม โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร
หลักการและเหตุผล
เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปี การเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ณ บ้านหว้ากอ ต. คลองวาฬ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงคำนวณการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาไว้ล่วงหน้าก่อนสองปี และได้เสด็จไปทอดพระเนตรการเกิดปรากฎการณ์ด้วยพระองค์เองพร้อมกับคณะผู้ร่วมสังเกตการณ์จากประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และสิงคโปร์ ซึ่งในครั้งนั้นได้เกิดสุริยุปราคาตามการคำนวณของพระองค์อย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้ร่วมสังเกตการณ์ โดยดวงอาทิตย์ได้ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงอยู่นานถึง 6 นาที 46 วินาที ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่สยามและแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน และสืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2525 เทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ว่าทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ทั้งนี้ในระดับนานาชาติสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลยังได้ขนานนามปรากฏการณ์สุริยุปราคาในครั้งนั้นว่า “King of Siam’s Eclipse”
บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) จึงได้เล็งเห็นถึงโอกาสอันดีในการครบรอบ 150 ปี การเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ณ บ้านหว้ากอ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้แสดงพระปรีชาสามารถในด้านดาราศาสตร์เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล และร่วมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในเดือนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จึงได้จัดงานเสวนาเรื่อง 150th Anniversary King of Siam’s Eclipse เพื่อน้อมรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านดาราศาสตร์และเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ที่มา: ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
http://thaiastro.nectec.or.th/library/kingmongkut_bicentennial/kingmongkut_bicentennial.html
เอกสารประกอบ
หลักการในการจัดงานเสวนาฯ
กำหนดการจัดงานเสวนาฯ
Poster
เอกสารประกอบการบรรยาย
เรื่อง “พ.ศ. 2411 ณ บ้านหว้ากอ: ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สภาพสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 4”: รศ. บุญรักษา สุนทรธรรม
เรื่อง “ความมหัศจรรย์ของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง”: ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา
บรรยากาศในงานเสวนา